วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

แชทนานระวัง “บีบีวิชั่นซินโดรม”



เตือนสาวก”แบล็กเบอรี่ (Blackberry)“แช็ตถี่เป็นเวลานาน ระวังอาการนิ้วล็อค-ข้อมืออักเสบ หมอเผยปัจจุบันมีผู้มารักษามาก ระบุสาเหตุหนึ่งมาจากอาการติดบีบี จักษุแพทย์เผยเกิดโรค “บีบีวิชั่นซินโดรม”แล้ว วัยรุ่นรับเกิดอาการจริงหากใช้ต่อเนื่อง
บีบี (แบล็กเบอร์รี่) มือถือสุดฮิต ซึ่งขณะนี้เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มคนวัยทำงาน โดยส่วนใหญ่นิยมใช้สื่อสารด้วยโปรแกรมแช็ตที่สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา และใช้ได้บ่อยครั้งตามที่ต้องการ วัยรุ่นและกลุ่มคนวัยทำงานจำนวนไม่น้อย ยอมรับว่าติดบีบีเป็นอย่างมาก บางคนต้องสนทนาผ่านตัวอักษรในบีบีทุก 5 นาที โดยการสนทนาในแต่ละครั้งสาวกบีบีต้องอาศัยการอ่านตัวหนังสือที่หน้าจอโทรศัพท์ซึ่งมีขนาดเล็ก และยังต้องอาศัยนิ้วกดแป้นตัวอักษรเพื่อสนทนาตอบโต้ ผลจากพฤติกรรมดังกล่าว เริ่มส่งผลกระทบต่อผู้ติดบีบีแล้ว
นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เปิดเผย “มติชน” เมื่อวันที่ 12 กันยายน ว่า ปัจจุบันมีคนไข้ที่เข้ามารับการรักษาข้อมือ รวมทั้งรักษาอาการนิ้วล็อคเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจากการใช้งานของนิ้วและข้อมือมาก สาเหตุความเสี่ยงของโรคอาจมาจากการพิมพ์งานนาน การทำกับข้าวหั่นหมู หั่นผัก และที่น่าเป็นห่วงมากๆ ในตอนนี้คือ การพิมพ์ข้อความทางโทรศัพท์ ขณะนี้มีคนไข้เข้ามารับการรักษาข้อมือ และนิ้วล็อควันละหลายสิบราย โดยเฉพาะผู้หญิงทั้งวัยรุ่นและวัยทำงาน
สาเหตุมีหลายอย่าง แต่ที่น่าห่วงคือ การใช้บีบีเพราะลักษณะการใช้งานของบีบี แป้นพิมพ์จะแคบและมีขนาดเล็กมากๆ ลักษณะการวางมือของผู้ใช้มีความลำบาก เมื่อผู้ใช้พิมพ์บ่อยๆ วันละหลายๆ สิบครั้ง อาจมีผลกระทบตามมาได้ เช่น มีอาการเอ็นข้อมืออักเสบ เวลากระดกนิ้วหัวแม่มือจะเกิดอาการเจ็บ ยิ่งใช้นานก็ยิ่งมีอาการเพิ่มขึ้น อย่างอาการเกร็งที่นิ้วตรงข้อต่อ ส่งผลให้บริเวณปลายนิ้วมีกระดูกปูดขึ้นมา เพราะมีหินปูนไปจับทำให้รู้สึกเจ็บ ส่วนบริเวณข้อมือ ตรงฝ่ามือจะมีพังผืด ถ้าใช้งานมากจะหนาตัวขึ้นและไปกดทับเส้นประสาททำให้มือชา นิ้วชา ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อค บริเวณโคนนิ้วมือจะเจ็บ เวลากำหรือเหยียดจะลำบากในระยะแรก เมื่อปล่อยทิ้งไว้นานจะทำให้งอและเหยียดไม่ออก
นพ.ธีรวัฒน์กล่าวอีกว่า อาการที่เกิดขึ้นกับมือและข้อมือที่กล่าวมาข้างต้นนั้น หากยังใช้งานมากเกินไป ในทุกๆ วันจะเจ็บปวดมากจนถึงขั้นต้องรักษาด้วยการฉีดยา หรือถึงขั้นผ่าตัดในที่สุด ดังนั้น ควรลดการใช้งานของบีบีหากมีอาการเจ็บที่ปลายนิ้วมือตรงข้อต่อแสดงว่าใช้งานมากไป ควรลดลงหรือปรับท่าใช้งาน และป้องกันเบื้องต้นด้วยการยืดเหยียดมืออยู่เสมอ ยืดนิ้วมือ หรือข้อมือ และประสานมือเหยียดออกไป หากมีเวลาให้นำมือแช่น้ำอุ่นเพื่อผ่อนคลายบ้างก็เป็นการบรรเทาอาการดังกล่าว
ส่วนผลกระทบต่อสุขภาพจากการเล่นบีบีในด้านอื่นนั้น นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า กล่าวถึงอาการติดบีบีที่ส่งผลกระทบต่อสายตาว่า ขณะนี้มีโรค “บีบีวิชั่นซินโดรม” คือ การใช้สายตาเพ่งในสิ่งนั้นๆ นานเกิน 25 นาที จะทำให้ตาเกิดอาการล้า ปวดตา เมื่อยตา เนื่องจากแช็ตตลอดเวลา เพ่งไปที่ตัวหนังสือนานเกินไป ตาจะเริ่มแห้ง โดยเฉพาะแก้วตาดำจะแห้งจนมีอาการแสบ เคือง น้ำตาไหล และปวด อาการเหมือนโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม แต่ยังไม่มีรายงานทางแพทย์ว่าเกิดอันตรายจนถึงขั้นรุนแรง เพียงแค่จะแสบตา ปวดตา เมื่อนอนพักก็หายและควรเว้นระยะห่างหน้าจอกับสายตาในระยะที่มองได้ชัดที่สุด และไม่ควรแช็ตในที่มืดด้วย

ที่มา  http://www.socialtrendy.com/
ภัยจากการคุยโทรศัพท์นานๆ


การใช้โทรศัพท์เป็นเวลานานก็จะยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอก ที่แฝงตัวอยู่ภายในศรีษะ โดยเฉพาะจุดเดียวกันกับที่วางโทรศัพท์แนบหู และอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ อาทิ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ เป็นต้น
“ผู้ ที่ติดโทรศัพท์มือถืออย่างหนักก็จะยิ่งได้รับผลกระทบมาก และยิ่งมีโอกาสที่จะได้รับความเสี่ยงที่จะเกิดเนื้องอกระดับอันตรายโดยเฉพาะ ส่วนที่โทรศัพท์ติดกับศรีษะมากถึง 240% ทีเดียว” Kjell Mild หนึ่งในผู้ที่ทำการวิจัย กล่าว
 “วิธีที่จะทำให้ความเสี่ยงลดลงก็คือการใช้แฮนด์ฟรีแทนการยกโทรศัพท์คุยแบบ ปกติ”
ไม่ว่าจะมีวิธีแก้หรือลดความเสี่ยงอย่างไร การรู้จัก “ความพอดี” ในการใช้โทรศัพท์มือถือน่าจะเป็นหลักสำคัญในงานวิจัยชิ้นนี้ได้ดีนัก เพราะไม่เพียงแต่ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพแล้วยังไม่ต้องจ่ายค่าบริการ ที่มากตามไปด้วย คงจะไม่คุ้มนักที่จะต้องเสียเงินจ่ายทั้งค่าบริการโทรศัพท์และค่ารักษา สุขภาพควบคู่กัน เพียงแค่ต้องการคุยโทรศัพท์นานๆ



ที่มา   http://health.deedeejang.com/news/carefull-use-phone.html
ประเทศบรูไน

 
บรูไน  ไข่มุกแห่งทะเลจีนใต้
บูรไนเป็นอีกประเทศที่น่าท่องเที่ยวในเอเซียใต้ บรูไนประเทศที่ร่ำรวยอีกประเทศหนึ่ง เนื่องจากเป็นประเทศที่มีน้ำมันเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญก้าวหน้ามากกว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน


ที่มา  http://travel.thaiza.com

ประวัติสถานเอกอัครราชทูต

      หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับราชอาณาจักรลาว เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2493 โดยกระทรวงการต่างประเทศได้มอบหมายให้อุปทูตไทย ณ ไซง่อน ทาบทามผู้แทนลาวประจำไซง่อน ขอตั้งสถานกงสุล ณ เมืองเวียงจันทน์ ต่อมานายโง่น ชนะนิกร ผู้แทนลาว ได้มีหนังสือลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ตอบเห็นชอบและยินดีที่ไทยจะส่งผู้แทนไปประจำเวียงจันทน์ พร้อมแนะนำให้ไทยส่งเจ้าหน้าที่ไปเมืองเวียงจันทน์เพื่อหาบ้านเช่าและซื้อที่ดินเป็นที่ทำการต่อไป
      ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2494 นายวิกรม นินนาท ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นรองกงสุลรักษาราชการสถานกงสุล ได้ออกเดินทางพร้อมด้วยนายสงวน รุจิเทศ ไปรับหน้าที่ ณ เวียงจันทน์โดยทางรถไฟ
      ในเบื้องต้น นายวิกรมฯ ได้เช่าบ้านเป็นที่ทำการสถานกงสุลและจ้างลูกจ้างท้องถิ่น จำนวน 2 คน ได้แก่ เสมียน 1 คน ทำหน้าที่รับงานติดต่อ และขับรถ-เรือ และคนสวน 1 คน ทำหน้าที่ทำสวน ภารโรง และยาม
      ปี พ.ศ. 2496 และ พ.ศ. 2498 สถานกงสุลฯ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นสถานอัครราชทูต และสถานเอกอัครราชทูต ตามลำดับ โดยมีพลจัตวา สมัย แววประเสริฐ เป็นอัครราชทูต และเอกอัครราชทูตคนแรก


      เมื่อแรกเปิดทำการสถานกงสุลฯ นายวิกรม นินนาท รองกงสุล รักษาราชสถานกงสุลต้องเช่าบ้านเอกชนเป็นสถานที่ทำการตลอดมา แม้กระทรวงการต่างประเทศประสงค์จะซื้อที่ดินและก่อสร้างอาคารที่ทำการ และที่พักข้าราชการ แต่ก็หาทำเลที่เหมาะสมไม่ได้   นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 เป็นต้นมา พลจัตวา สมัย แววประเสริฐ เอกอัครราชทูตได้พยายามเจรจา ขอซื้อที่ดินหลายแห่งแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินราษฎรลาว ในที่สุด ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 พลจัตวา สมัย แววประเสริฐ เอกอัครราชทูต ได้ตกลงซื้อที่ดินของนายบง สุวรรณวงศ์ ซึ่งมีพื้นที่ 6,059 ตารางเมตร (ประมาณ 3 ¾ ไร่) ตั้งอยู่ที่ถนน De Latter de Tassigny (ต่อมา เปลี่ยนชื่อเป็นถนนโพนเค็ง และถนนไกสอน พมวิหาน ตามลำดับ) บ้านนาไร่เดียว ตาแสง (ตำบล) วัดจัน แขวงเวียงจันทน์ ในราคา 714,286 กีบ หรือคิดเป็นเงินไทยอัตราแรกเปลี่ยนขณะนั้นประมาณ 200,000 บาท หรือคิดเป็นราคาตารางวาละ 133 บาท และได้ขึ้นทะเบียนราชพัสดุ หมายเลขทะเบียนที่ 15772
   ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2499 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท ดำรงค์ ก่อสร้าง ซึ่งเป็นผู้รับเหมาไทย ตั้งสำนักงานอยู่ที่ถนนทรงวาด จังหวัดพระนคร ให้ก่อสร้างอาคารที่พัก 2 หลัง โดยอาคารหลังหนึ่ง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ทรงไทย รูปทรงคล้ายศาลากลางจังหวัด ราคา ค่าก่อสร้างเป็นเงิน 1,736,500 บาท ใช้เป็นทำเนียบของเอกอัครราชทูต และอาคารคอนกรีตสองชั้น ด้านหลังอาคารหลังแรก อีก 1 หลัง เพื่อใช้เป็นที่ทำการของสถานเอกอัครราชทูต ราคาก่อสร้างเป็นเงิน 404,000 บาท โดยอุปกรณ์และวัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่ นำมาจากฝั่งไทย การก่อสร้างอาคารทั้งสองหลังได้แล้วเสร็จ และส่งมอบให้สถานเอกอัครราชทูตฯ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2500  ในปีเดียวกันนั้น กระทรวงฯ ได้อนุมัติให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ก่อสร้างอาคารคอนกรีต 2 ชั้น หนึ่งหลัง เพื่อใช้เป็นเรือนรับรองของสถานเอกอัครราชทูตฯ ราคาค่าก่อสร้างเป็นเงิน 469,900 บาท และอาคารที่พักขนาดย่อมสำหรับลูกจ้างท้องถิ่นอีก 1 หลัง (ต่อมาอาคารหลังนี้ได้ถูกรื้อถอนเนื่องจากมีสถาพทรุดโทรมมาก ไม่สามารถใช้การได้) โดยกรมโยธาธิการได้รับมอบหมายให้ประกวดราคาและควบคุมการก่อสร้าง)
      ในปี พ.ศ. 2540 รัฐบาลไทย โดยนายสมพันธ์ โกกิลานนท์ เอกอัครราชทูต ได้จัดซื้อที่ดิน โฉนดเลขที่ 003 รหัส 001 003 0012 ตั้งอยู่ที่ ถนนโพนเค็ง (ปัจจุบัน ถนนไกสอน พมวิหาน) บ้านโพนไซ เมืองไซเสดถา กำแพงนครเวียงจันทน์ (ปัจจุบันคือนครหลวงเวียงจันทน์) บริเวณตรงข้ามกับดินแปลงแรก โดยมีถนนไกสอน พมวิหานกั้นกลาง เนื้อที่ 2,356 ตารางเมตร (589 ตารางวา) จากนางจันสะมุด หลวงโคดร ในราคา 13,003,200.00 บาท (504,000.00 ดอลลาร์สหรัฐ) หรือตารางวาละ 20,076 บาท เพื่อก่อสร้างเป็นทำเนียบเอกอัครราชทูต/ที่ทำการสถานเอกอัครราชทูตฯ หลังใหม่ และได้ขึ้นทะเบียนคุมที่ดินในต่างประเทศ จำแนกตามประเภท แปลงหมายเลขทะเบียนที่ 81

      ในระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 ได้เกิดเหตุการปฏิวัติในเวียงจันทน์ โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2508 ลูกปืนครกขนาด 81 มม. กว่า 15 ลูก ได้ตกลงถูกอาคารภายใน สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก และยังเกิดเหตุการณ์อันสลดใจ ที่สะเก็ดระเบิดถูก นายโชติ พรโสภณ เลขานุการโท (ชั้น 2) ซึ่งกำลังปฏิบัติงานอยู่ในห้องตรวจลงตราถึงแก่มรณกรรมภายในที่ทำการ ในปี พ.ศ. 2508 สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงจำเป็นต้องซ่อมแซมอาคารทั้งสามหลัง โดยฉาบปูน ปิดรอยกระสุนต่างๆ ทาสีอาคารใหม่ เปลี่ยนหลังคากระเบื้องที่เสียหายจากระเบิด เป็นต้น
      ในปีงบประมาณ 2543 กระทรวงการต่างประเทศได้อนุมัติให้สถานเอกอัครราชทูตซ่อมแซมอาคารสถานเอกอัครราชทูตฯ ทั้งสามหลัง ซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรม และสร้างโรงรถและเรือนพักขนาดย่อม ชั้นล่างเป็นคอนกรีต ชั้นบนเป็นไม้ เป็นที่พักของลูกจ้างของสถานเอกอัครราชทูตฯ ในวงเงินรวม 7,127,930 บาท โดยบริษัทสากล วิลเลจ (บริษัทของคนไทย จดทะเบียนในประเทศลาว) ได้รับคัดเลือกให้ดำเนินการ และได้ส่งมอบการซ่อมแซม และการก่อสร้างดังกล่าวให้แก่สถานเอกอัครราชทูตฯ เมื่อเดือนมีนาคม 2544
ห้องจัดเลี้ยงของทำเนียบเอกอัครราชทูต
     
 ในเดือนกันยายน 2550 บริษัทโจและทินกรได้รับเลือกให้ตกแต่งภายในทำเนียบเอกอัครราชทูตใหม่ ซึ่งดำเนินการแล้วสำเร็จเมื่อกลางปี 2551

ที่มา:  http://vientiane.thaiembassy.org/vientiane/th/embassy/embassy_history/